วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


การเกิดที่คุ้มค่า

การเกิดที่คุ้มค่า

สาระสำคัญของการมีชีวิต
ไม่ได้อยู่ที่ว่าเราอยู่ได้นานเท่าไร
แต่อยู่ที่ว่าเราเห็นคุณค่า  ของการเกิดมาอย่างไรต่างหาก





มีลุกศิษย์อาศัยอยู่ในสำนักปรัชญาแห่งหนึ่ง  เขาได้เฝ้าเรียนวิชาความรู้กับอาจารย์เรื่อยมาอยู่มาวันหนึ่งพวกเขาได้ถกปรัชญาว่าด้วยความเหมาะสมเรื่องอายุของคนเรา
          ต่างคนก็มีความคิดเห็นต่างกันออกไป  เมื่อทั้งหมดไม่สามารถหาคำตอบที่เป็นจุดเป็นจุดรวมได้จึงพากันไปหาอาจารย์  แล้วถามข้อสงสัยนั้น
            “ท่านอาจารย์คิดว่าคนเรามีอายุที่จะดำรงอยู่ในโลกนานเท่าไหร่  จึงชื่อว่ามีความเหมาะสมครับ?”
            “70ปีก็เพียงพอแล้วล่ะ” อาจารย์ตอบอย่างอารมณ์ดี “ไม่ใช่ว่ายิ่งอยู่นาน  ยิ่งมีผลดีต่อชีวิตเพราะสามารถทำอะไรได้ตามใจต้องการหรือครับ”?  ลูกศิษย์ถามทำนองแย้งความคิดเห็นของอาจารย์
            ฝ่ายอาจารย์เมื่อรับทราบความคิดเห็นของศิษย์  จึงกล่าวให้ข้อคิดว่า  “อาจารย์ไม่คิดอย่างนั้น  เพราะว่าคนเรานั้นมีความอยากไม่รู้จักจบสิ้น  ถ้ารู้ว่าตนเองมีชีวิตอยู่ได้ถึงพันปี  ทุกคนก็จะรู้สึกอายุน้อยอยู่ดี  ก็จะเรียกร้องให้ที่จะมีอายุเพิ่มขึ้นเช่นเดิม  เมื่อเป็นเช่นนี้  ก็รังแต่จะหลงกับเวลาที่ได้มา  จนลืมคุณค่าที่ควรสร้างให้มีในตนเอง  จนในที่สุดก็ประมาทเพราะความอยากที่ไม่รู้จักพอนั้น  แทนที่จะได้ประโยชน์กลับเป็นการเสียประโยชน์จากเวลาที่ได้มาอีกต่างหาก”
            “ แต่ว่าถ้าหากอาจารย์อยู่ได้ถึงพันปีก็จะสามารถถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ผู้คนได้มากนะครับ”?
อาจารย์ผู้ผ่านการใช้ชีวิตมานาน  และมีโลกทัศน์ที่กว้างกว่า  ก็กล่าวพร้อมรอยยิ้มให้กับความคิดของลูกศิษย์ด้วยความเอ็นดูว่า
            “ถ้าอาจารย์สามารถอยู่ได้ถึงพันปีเช่นดังที่พวกเธอคิด  เรื่องที่อาจารย์ต้องตอบลุกศิษย์  ก็คงไม่ต่างจากเรื่องที่พวกเธอถามในวันนี้หรอก  เพราะความคิดเรื่องอายุพันปี  ก็จะน้อยสำหรับคนยุคนี้  และแสวงหาคำตอบที่จะทำให้ตัวเองมีอายุมากกว่าพันปีอยู่อีกเช่นเดียวกับพวกเธอต้องการทราบในปัจจุบันนั้นแหละ”
            บรรณดาลูกศิษย์จึงเข้าใจความคิดเห็นของอาจารย์ ฝ่ายอาจารย์ก็ให้ข้อคิดแก้ลูกศิษย์เพิ่มเติม  เพื่อนำไปเป็นแนวทางพัฒนาชีวิตของตัวเองให้ดีขึ้น
            “คนเราที่เกิดมาบนโลกใบนี้  ไม่ว่าจะผ่านวัยมาเนินนานหรือพึ่งเกิดมาได้ไม่กี่ปี  ให้ใช้สาระสำคัญของการเกิดไม่แต่คุณค่าที่เกิดขึ้นในชีวิต  และประโยชน์ที่พึ่งสร้างสรรค์ต่อสังคมต่างหากเป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำให้มีในตน  เมื่อนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ได้นานหรือสั้น  เวลาที่ผ่านมาก็ชื่อว่าคุ้มค่าสำหรับการเกิดของตัวเราเอง”







ข้อคิด
สาระสำคัญของการมีชีวิตไม่ได้อยู่ที่ว่าเราอยู่ได้นานเท่าไร  แต่อยู่ที่ว่าเราเห็นคุณค่าของการเกิดมาอย่างไรต่างหาก เพราะชีวิตที่ได้มา  คุณค่าที่ควรจะได้รับต่อยอดควรอยู่ที่การรู้จักทำชีวิตให้มีมูลค่าเพิ่มในต้นเอง  แม้ว่าวันหนึ่งเราจะดำรงอยู่ด้วยวันเวลาที่น้อยนิดก็ตาม  แต่เราก็ภูมิใจที่เราอยู่มีคุณค่าสำหรับตัวเอง  พระพุทธศาสนากล่าวไว้ว่า                                                                                                                            

“ผู้มีชิวิตอยู่อย่างมีค่าแม้เพียงวันเดียว  ก็มีประโยชน์กว่าคนที่มีอายุตั้งร้อยปีแต่ทำตัวไร้สาระ”

การให้ที่จริงใจ

การให้ที่จริงใจ


เราจะแสดงน้ำใจให้แก่ใครๆ
สาระสำคัญไม่ใช่อยู่ที่วัตถุที่ยื่นให้
แล้วจบลงตรงนั้นเพียงอย่างเดียว  แต่ควรเป็นการหยิบยื่นให้จากใจที่ปรารถนาดีจริงๆ


            ขงจื้อมหาปราชญ์แห่งเมืองจีน   มีหลายชายผู้เปรื่องปราดไม่ต่างเขานามว่า “เค” ซึ่งเป็นหลานโดยกำเนิดจากลูกชายของเขานามว่า “เล”  ต่อมาไม่นานเลผู้เป็นลูกชายก็ได้เสียชีวิตลงในขณะที่ขงจื้ออายุได้ 70 ปี
            ก่อนที่ขงจื้อจะเสียชีวิต  เขาได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่หลานรักอย่างสุดภูมิรู้จนทำให้ “เค”  มีความคิดเป็นอยู่ด้วยอุดมการณ์อย่างเช่นปูขงจื้อของเขา
            เมื่อสิ้นขงจื้อ  เคจึงได้รวบรวมคำสอนของปู  และได้รับจ้างสอนหนังสือเด็กๆเพื่อหารายได้ในการยังชีพตนเองด้วยเมื่อลูกศิษย์เห็นอาจารย์แต่งกายมอซอ  จึงถามด้วยความสงสัย
            “อาจารย์ทำไมไม่ใส่เสื้อผ้าดีๆกินอาหารดีๆเหมือนอาจารย์คนอื่นละครับ ?”
เคมักจะให้คำตอบในทำนองว่า
            “ปูขงจื้อของอาจารย์สอนไว้ว่า ถ้านักศึกษาคนใดสนใจศึกษาหลักความจริงของชีวิต  เพีงเพราะเห็นรูปกายภายนอกของคนอื่น  บุคคลนั้นไม่เหมาะที่สนทนาด้วย”
ลูกศิษย์ก็ได้แต่พยักหน้ารับรู้สิ่งที่อาจารย์ชี้แจงให้ทราบ ต่อมามีเศรษฐีท่านหนึ่งทราบข่าว  จึงให้คนใช้นำเสื้อผ้าและอาหารไปให้เค  พร้อมกล่าวสำทับว่า
            “เมื่อฉันให้ในสิ่งใดแก่ใคร  แนคิดว่าเหมือนกำลังโยนของเสียทิ้งลงไปในท้องร่องเท่านั้น”
พอเวลาผ่านไปสักครู่หนึ่ง  ปรากฏว่าคนใช้ได้นำเสื้อผ้าและอาหารกับมาเหมือนเดิม  เศรษฐีจึงถามว่า
“อ้าว  ทำไมนำของกลับมาล่ะ ?”
“เค  เขาไม่ยอมรับครับนายท่าน”
            เศรษฐีรับทราบดั้งนั้นแล้วก็เกิดความสงสัยยิ่งนัก  จึงเดินทางไปสอบถามว่าทำไมถึงปฏิเสธความหวังดีของเขา  คำตอบที่รับจากเคนั้นคือ
“ท่านให้ทานแก่ข้าพเจ้า  เหมือนว่าโยนของเสียลงในท้องร่อง  แต่ทานไม่ยอมถามข้าพเจ้าเลยว่า  จะยอมเป็นท้องร่องให้ทานทิ้งของเสียหรือไม่”
            เหตุผลที่เคกล่าวดั้งนั้น  ก็เพื่อให้เศรษฐีได้ตระหนักถึงความสำคัญของการให้ว่า  ควรมีวิธีการปฏิบัติเช่นไรการจึงจะเป็นความถูกต้องและดีงาม  ไม่ใช่ว่าให้แล้วก้ไปโดยไม่มีการใส่ใจต่อผู้รับแต่ประการใด






ข้อคิด

เราจะแสดงน้ำใจให้แก่ใครสาระสำคัญไม่ใช่อยู่ที่วัตถุที่ยื่นให้แล้วจบลงตรงนั้นเพียงอย่างเดียว  แต่ควรต้องเป็นการหยิบยื่นให้จากใจที่ปรารถนาดีจริงๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการส่งผลให้ผู้รับมีความรู้สึกดีที่จะช่วยต่อยอด สิ่งดีๆด้วยตัวของเขาเอง  ไม่ว่าจะเป็นการต่อยอดด้วยการลุกขึ้นสู้ใหม่เพราะได้กำลังใจจากเรา  หรือการมีชีวิตอยู่ให้ได้เพราะได้รับความเอื้ออารีจากคนที่หยิบยื่นสิ่งดีๆมอบให้มาจึงจะเชื่อว่ามีคุณค่าจริง

เพราะไม่รู้จึงต้องสอน






เพราะไม่รู้จึงต้องสอน

ถึงแม้อาจารย์จะอยู่เพียงลำพังก็ไม่เป็นไร
แต่รู้ศิษย์ผู้หน้าส่งสารที่ใครๆต่างตราหน้าว่าเป็นหัวขโมยคนนี้ไม่รู้แม่กระทั้งว่าอะไรผิดอะไรถูกอะไรควรอะไรไม่ควร
ถ้าอาจารย์ไม่สอนให้เข้ารู้จักผิดชอบชั่วดีแล้วใครเล่าจะสอนเขา

อาจารย์บันไกเป็นอาจารย์เซนที่มีลูกศิษย์จำนวนมาก  ทั้งเก่าและใหม่คลเคล้ากันไป  แต่ละปีจะมีคนมาศึกษาเซนกับท่านอย่างล้นหลาม  ในจำนวนนั้นก็มีทั้งคนดีและคนไม่ดี  แต่ท่านก็ยินดีที่จะสอนพวกเขา
มีครั้งหนึ่งลุกศิษย์คนหนึ่งของท่านถูกจับด้วยข้อหาลักทรัพย์เหล่าลุกศิษย์ที่หวังดีจึงรายงานให้อาจารย์บันไกทราบพร้อมทั้งเสนอให้ขับไล่เขาออกจากสำนัก  แต่อาจารย์บันไกก็ไม่ว่ากล่าวอะไร
ต่อมาลูกศิษย์หัวขโมยก็ถูกจับข้อหาลักทรัพย์อีกเช่นเคย  อาจารย์บันไกก็เชยอีกหลายครั้งเข้าทำให้พวกลูกศิษย์จำนวนมากไม่พอใจ  จึงยื่นข้อเสนอให้อาจารย์ขับลุกศิษย์คนนั้นออกไป  มิเช่นนั้นพวกเขาจะพากันไปอยู่ที่อื่น
“เมื่อรับทราบข้อเสนอเรียบร้อย  อาจารย์บันไกจึงเรียกประชุมลูกศิษย์ทั้งหมด  แล้วกล่าวในท่ามกลางที่ประชุมว่า “ พวกเธอในที่นี้ล้วนเป็นคนฉลาด  รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด  รู้ว่าอะไรควรอะไรไม่ควรพวกเธอจะไปอยู่หรือไปเรียนที่ไหนก็เชิญตามสะดวกเถิด  ถึงแม้อาจารย์จะอยู่เพียงลำพังก็ไม่เป็นไรแต่ลูกศิษย์ผู้หน้าสงสารที่ใครๆต่างตราหน้า  ว่าเป็นหัวขโมยนี้ไม่รู้แม้กระทั้งอะไรถูกอะไรผิด  อะไรควรอะไรไม่ควร  ถ้าอาจารย์ไม่สอนให้เขารู้จักผิดชอบชั่วดี  แล้วใครเล่าจะสอนเขา  แม้ว่าพวกเธอจะไปจากอาจารย์ทั้งหมดก็ตาม  อาจารย์ก็คงต้องให้เขาอยู่ด้วยเช่นเดิม  จนกว่าเขาจะรู้จักสิ่งที่ดีในชีวิตของเขาเองนั้นแหละ”



ข้อคิด  

การที่เราผิดพลาดแล้วได้รับการให้อภัยจากผู้อื่น  ถือว่าเป็นความโชคดีมมากของชีวิต  เพราะเป็นการได้รับโอกาสที่จะแก้ไขสิ่งที่บกพร่องให้ดีขึ้น  ขณะเดียวกันเราก็ควรรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้ดีกว่าเดิม  ไม่ใช่ยินดีกับการได้รับการให้อภัยแล้วหยุดเรียนรู้ที่จะแก้ไข  เพราะเมื่อวันหนึ่งที่ไม่มีใครเห็นใจ  เราจะเดียวดายจากคนรอบข้างที่เคยเห็นคุณค่าในตัวเรา  เพราะเราเป็นผู้ผลักไสให้เขามองเราว่าเป็นคนไร้ค่าด้วยตัวของเราเอง