วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การให้ที่จริงใจ

การให้ที่จริงใจ


เราจะแสดงน้ำใจให้แก่ใครๆ
สาระสำคัญไม่ใช่อยู่ที่วัตถุที่ยื่นให้
แล้วจบลงตรงนั้นเพียงอย่างเดียว  แต่ควรเป็นการหยิบยื่นให้จากใจที่ปรารถนาดีจริงๆ


            ขงจื้อมหาปราชญ์แห่งเมืองจีน   มีหลายชายผู้เปรื่องปราดไม่ต่างเขานามว่า “เค” ซึ่งเป็นหลานโดยกำเนิดจากลูกชายของเขานามว่า “เล”  ต่อมาไม่นานเลผู้เป็นลูกชายก็ได้เสียชีวิตลงในขณะที่ขงจื้ออายุได้ 70 ปี
            ก่อนที่ขงจื้อจะเสียชีวิต  เขาได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่หลานรักอย่างสุดภูมิรู้จนทำให้ “เค”  มีความคิดเป็นอยู่ด้วยอุดมการณ์อย่างเช่นปูขงจื้อของเขา
            เมื่อสิ้นขงจื้อ  เคจึงได้รวบรวมคำสอนของปู  และได้รับจ้างสอนหนังสือเด็กๆเพื่อหารายได้ในการยังชีพตนเองด้วยเมื่อลูกศิษย์เห็นอาจารย์แต่งกายมอซอ  จึงถามด้วยความสงสัย
            “อาจารย์ทำไมไม่ใส่เสื้อผ้าดีๆกินอาหารดีๆเหมือนอาจารย์คนอื่นละครับ ?”
เคมักจะให้คำตอบในทำนองว่า
            “ปูขงจื้อของอาจารย์สอนไว้ว่า ถ้านักศึกษาคนใดสนใจศึกษาหลักความจริงของชีวิต  เพีงเพราะเห็นรูปกายภายนอกของคนอื่น  บุคคลนั้นไม่เหมาะที่สนทนาด้วย”
ลูกศิษย์ก็ได้แต่พยักหน้ารับรู้สิ่งที่อาจารย์ชี้แจงให้ทราบ ต่อมามีเศรษฐีท่านหนึ่งทราบข่าว  จึงให้คนใช้นำเสื้อผ้าและอาหารไปให้เค  พร้อมกล่าวสำทับว่า
            “เมื่อฉันให้ในสิ่งใดแก่ใคร  แนคิดว่าเหมือนกำลังโยนของเสียทิ้งลงไปในท้องร่องเท่านั้น”
พอเวลาผ่านไปสักครู่หนึ่ง  ปรากฏว่าคนใช้ได้นำเสื้อผ้าและอาหารกับมาเหมือนเดิม  เศรษฐีจึงถามว่า
“อ้าว  ทำไมนำของกลับมาล่ะ ?”
“เค  เขาไม่ยอมรับครับนายท่าน”
            เศรษฐีรับทราบดั้งนั้นแล้วก็เกิดความสงสัยยิ่งนัก  จึงเดินทางไปสอบถามว่าทำไมถึงปฏิเสธความหวังดีของเขา  คำตอบที่รับจากเคนั้นคือ
“ท่านให้ทานแก่ข้าพเจ้า  เหมือนว่าโยนของเสียลงในท้องร่อง  แต่ทานไม่ยอมถามข้าพเจ้าเลยว่า  จะยอมเป็นท้องร่องให้ทานทิ้งของเสียหรือไม่”
            เหตุผลที่เคกล่าวดั้งนั้น  ก็เพื่อให้เศรษฐีได้ตระหนักถึงความสำคัญของการให้ว่า  ควรมีวิธีการปฏิบัติเช่นไรการจึงจะเป็นความถูกต้องและดีงาม  ไม่ใช่ว่าให้แล้วก้ไปโดยไม่มีการใส่ใจต่อผู้รับแต่ประการใด






ข้อคิด

เราจะแสดงน้ำใจให้แก่ใครสาระสำคัญไม่ใช่อยู่ที่วัตถุที่ยื่นให้แล้วจบลงตรงนั้นเพียงอย่างเดียว  แต่ควรต้องเป็นการหยิบยื่นให้จากใจที่ปรารถนาดีจริงๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการส่งผลให้ผู้รับมีความรู้สึกดีที่จะช่วยต่อยอด สิ่งดีๆด้วยตัวของเขาเอง  ไม่ว่าจะเป็นการต่อยอดด้วยการลุกขึ้นสู้ใหม่เพราะได้กำลังใจจากเรา  หรือการมีชีวิตอยู่ให้ได้เพราะได้รับความเอื้ออารีจากคนที่หยิบยื่นสิ่งดีๆมอบให้มาจึงจะเชื่อว่ามีคุณค่าจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น